วันที่ 10 ก.ย. 2550
ผมได้มีโอกาสไปดูงานที่บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd. เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2544 โดยเริ่มการผลิตในวันที่ 1 เม.ย. 2545 มีเงินทุนจดทะเบียน 360 ล้านบาท จำนวนพนักงาน 750 คน (ณ วันที่ 31 พ.ค. 2550) ผลิตภัณฑ์หลัก คือ ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Top Cover,Ramp,Crash Stop,Latch) และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค โดยกำหนดกลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
Smart System - สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
เทคโนโลยีสารสนเทศ - บริหารงานด้วยความโปร่งใส
- สร้างความสมดุลระหว่างคนกับระบบ
ผมยังได้เยี่ยมชมสถานที่ต่างของโรงงานซึ่งที่นี่มีแหล่งการเรียนรู้ขององค์กรจะมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ ระบบ Intranet และต่อมาได้พัฒนาต่อยอดเป็น ระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กรเป็นที่รวบรวมข้อมูลของทุกฝ่าย ทุกกิจกรรมตลอดจน การลากิจ ลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุมและกิจกรรมขององค์กรซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ทุก ๆ สายงาน จะบรรลุข้อมูลงานของทุกคนลงใน Portal รวมทั้งรายงานในหน้าเดียว (One-page Report) โดยผลการดำเนินงานของทุกฝ่ายจะถูกใส่ในฐานข้อมูลและระบบจะดึงข้อมูลมาเพื่อสร้างรายงานวันละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้บริหารเกิดความสะดวกในการติดตามผลการดำเนินธุรกิจในทุก ๆ มุมขององค์กรได้ครบถ้วนในเวลาอันสั้นและนอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณกระดาษและแฟ้มเอกสารได้อย่างมากโดยสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุงที่เป็นปัจจุบันที่สุดได้ในระบบ Portal นอกจากนี้องค์กรยังพยายามที่จะกระตุ้นให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรหนึ่งในกิจกรรมนั้นคือ Kaizen Suggestion ที่เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการเป็นต้นไป ได้นำเสนอข้อแนะนำว่าอยากจะปรับปรุงอย่างไร ให้กับองค์กรและคาดว่าผลที่ได้รับคืออะไรเมื่อพนักงานเขียนเสร็จแล้วจะรวบรวมเอกสารลงในระบบให้ผู้บริหารรับรู้และติดตามผลการดำเนินการตามคำแนะนำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะนำไปสู่การปฏิบติจริงและการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับการใช้ศาสตร์ของการจัดการความรู้นั้น ผมชื่นชมกับวิธีการที่บริษัทใส่ใจกับกระบวนการปฏิบัติงานและตัวพนักงาน ซึ่งทางบริษัทได้กำหนดยุทธ์ศาสตร์ไว้ดังนี้
KM in NOK Precision Component (Thailand) Ltd.
Small Group Activity - ทำงานเป็นทีม
กิจกรรมกลุ่มย่อย - ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ใช้หลัก Win-Win ในทุกหน่วยงาน
- องค์กรแห่งการเรียนรู้ :
การจัดการความรู้สู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีความเป็นมืออาชีพในงาน
- ดำรงการเติบโตของธุรกิจ
คือ กิจกรรมกลุ่มย่อยที่พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น กิจกรรม 5 ส , ความปลอดภัย , TPM เป็นต้น บริษัท ฯ เริ่มทำกิจกรรม SGA มากกว่า 3 ปีแล้ว โดยเริ่มจากฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพและขยายทั่วทั้งองค์กรในปี 2548 โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ปฏิบัติงาน ประมาณ 8-10 คน โดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วย หัวหน้าทีม ลูกทีมและที่ปรึกษาที่มาจากพี่ ๆ ระดับ วิศวกร พนักงานประจำ พนักงานอาวุโส และผู้บริหารจากทุกแผนกปัจจุบันมี SGA จำนวน 65 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งองค์กรในการดำเนินกิจกรรม SGA สมาชิกในกลุ่มจะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กัน ประมาณ 10-30 นาที ในแต่ละวันทำการสำรวจสิ่งผิดปกติและส่วนที่ต้องปรับปรุงของทุกกิจกรรม เดือนละครั้ง การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานในพื้นที่ของตน ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องงาน โดยการสร้างบทเรียนที่เรียกว่า OPL (One Point Lesson) และKSS (Kaizen Suggestion System) ทุกกลุ่มสามารถที่จะค้นคว้าพัฒนาตนเองได้ โดยหาข้อมูลต่าง ๆ จากห้องสมุด เวบไซต์ข้อมูลภายในบริษัท ดูงานเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ และการสอนจากที่ปรึกษาและหน่วยงานฝึกอบรม เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น