วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ยอด

เป็ก ๆ เสียงอะไรสักอย่างทำให้ผมตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันนี้ ผมไม่รู้หรอกว่าวันนี้เป็นวันอะไร แต่เสียงดังที่เกิดขึ้นพร้อมกับเสียงเอะอะของคนหลายคนทำให้ผมสนใจยิ่งนัก จึงรีบเดินออกไปดูที่หน้าบ้าน เห็นคนมาชุมนุมกันที่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก ต่างแบกต่างถือของอะไรมากันเต็มไม้เต็มมือ
"ยอด อย่าออกไปนะ" เสียงแม่ผมตะโกนมาจากข้างในบ้าน
ผมเดินกลับมาหาแม่เห็นแม่กำลังทอดไข่ผัดข้าวอยู่ผมนั่งดูแม่ทำกับข้าวไปจนเสร็จ แล้วมาหันมาจัดการผมแทนพาไปอาบน้ำแล้วตัดข้าวใส่ถ้วยมาป้อนให้ ผมชอบมากเลยข้าวผัดไข่ ในถ้วยพลาสติกสีสวยถ้วยโปรดของผม
"จะมีคนมาอยู่เป็นเพื่อนแล้วนะ โก๋กับเก๋จะมาเป็นเพื่อนเล่นนะ ไปดูเค้าสร้างบ้านกันเถอะ"
ผมไม่สนใจที่แม่พูด ผมรีบเดินนำแม่ไปดูว่าเค้าทำอะไรกันเลย แม่เดินตามผมมาติดสั่งให้ผมหยุดแล้วป้อนข้าวเป็นระยะ
"ยอด กินข้าวกับอะไร " เสียงผู้หญิงคนหนึ่งผอม ขาว ท่าทางใจดี ยืนยิ้มมาทางผม ผมจำไม่ได้ว่าตอบว่าอะไร แม่ผมคุยกับผู้หญิงคนนั้นแทนผม
"ยอดนี่ป้าเริญนะ ป้าเค้ากำลังปลูกบ้านอยู่ใกล้บ้านเรา" แม่แนะนำผมให้รู้จัก
"ปีหน้าก็เข้าโรงเรียนได้แล้ว ไปพร้อมกับเก๋เลยรุ่นเดียวกัน ไปเข้าเรียนอนุบาลโรงเรียนวัดหนองน้ำขาว" ป้าพูดกับแม่ผม
ผมได้ยินเรื่องโรงเรียนก็หูผึ่งขึ้นมาทันที แต่เพราะกำลังสนใจกับการทำงานของคนอื่น ๆ โดยรอบอยู่จึงไม่สนใจการสนทนาของทั้งสองคน ผมเข้าไปยกนั้นจับนี่แต่แม่ก็คอยมาจับมาห้ามเข้าไปในที่เค้าก่อสร้างอยู่ ผมไม่สนใจกินข้าวอีกแล้วได้แต่ดูเค้าทำงานกันจนแม่เรียกให้กลับบ้าน
ไม่นานบ้านของป้าเริญก็เสร็จ ผมเดินมาเล่นมายืนดูบ่อย ๆ จึงได้รู้จักกับลุงเบิ้มสามีของป้าเริญ มีศักดิ์เป็นพี่ชายของพ่อของผมนั้นเอง บ้านของป้าเริญเหมือนกับบ้านของผมเลย คือ เป็นบ้านที่เป็น "กระต๊อบ" ไม่ใหญ่นักไม่มีห้อง เสาร์เป็นไม้ ข้างฝาเป็นไม้ไผ่ขัดแต๊ะสานกัน และหลังคามุงจาก ไม่มีห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัวไว้ด้านหนึ่งในบ้าน ห้องนอนก็จะอยู่อีกฝั่งตรงข้ามกัน ในบ้านมีเตียงนอนเป็นไม้อยู่เตียงเดียว มีราวผ้าอยู่ใกล้เตียงนอนเป็นเชือกผูกไว้กับเสาร์สองเสาร์ ไว้เก็บ ตาก และพาดผ้าไว้ทุกอย่างจนเชือกห้อยลงมาก ห้องครัวมีแต่เตากับฟืนอยู่ใกล้กัน กระทะกับหม้อแขวนอยู่ข้างฝาบ้าน ห้องน้ำก็เป็นธรรมชาติถือจอบ ถือเสียมไปด้วยก็สบายแล้ว สรุปบ้านสองหลังเหมือนกันมาก ที่ดินที่มาปลูกนี้เป็นที่เช่า ได้ยินแม่หรือใครเรียกว่า "สวน" ทุกเดือนมีคนมีเก็บค่าเช่าที่ เป็นผู้ชายตัวใหญ่ ผิวขาว หน้าตาอิ่มเอิบและท่าทางใจดีมาก เป็นที่ที่ใช้ปลูกหอมและข้าวพูด ส่วนที่ดินข้าง ๆ ก็ปลูกอ้อยสลับกับข้าวโพด เวลามันโตพร้อมกัน บ้านจะเห็นแต่หลังคาถ้ามองจากไกล ๆ ในบ้านเวลากลางวันก็ครึ้ม ๆ กลางคืนไม่ต้องพูดถึงมืดไปหมด จนผมกลัว "ผี" เป็นทีสุด

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550

โครงการ KM For Fun...D

เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2550 เนื่องจากได้ศึกษารายวิชา เครื่องมือการจัดการสำหรับการจัดการความรู้ กำหนดให้นักศึกษาฝึกการบูรณาการความรู้ โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้ จากทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินกิจกรรม โดยให้นักศึกษาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของโครงการมาจัดตั้ง กองทุน KM Fun…D Learning เพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา KM ที่ร่วมกันจัดทุกชั้นปี หลักสูตรการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


2. เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้หลายรูปแบบสำหรับการดำเนินกิจกรรม
3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน


ผลการดำเนินงานโครงการสำเร็จสิ้นเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยโดยได้ผมการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ทำให้นักศักษา KM ทุกรุ่นได้พบปะพูดคัยและทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ทำในสื่งที่ไม่เคยทำ ได้คิดสร้างสรรค์เพราะเป็นงานที่ตนเองต้องแสดงศักยภาพออกมา ผมรู้สึกดีกับงานนี้มากครับ





บ้านเฟื้องฟ้า แด่น้อง ๆ ผู้น่ารัก



เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2550 นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้ ได้เดินทางไปยังสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา บ้านเฟื้องฟ้า ซึ่งอุปการะเด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญาไว้ประมาณ 500 คน ในครั้งนี้ได้นำสิ่งของที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แป้งและขนม เป็นต้น พร้อมกับเงินบริจาคจากการดำเนินโครงการ KM For Fun...D จำนวน 4500 บาท ไปมอบให้






การประชุมรับทราบนโยบาย ข้อบังคับและกระบวนการทำงานในปัจจุบัน

การประชุมรับทราบนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนการทำงานในปัจจุบัน
วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2550 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้อง 201 อาคาร ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน
...............................................................................................................
บันทึกความเข้าในการปฏิบัติงาน
1. การลงทะเบียนเรียนเป็นกรณีพิเศษ
คือ รายวิชาไม่ได้เปิดในภาคเรียนนั้นและนักศึกษาขอลงทะเบียนเป็นจำนวนน้อย เพื่อที่จะสำเร็จการศึกษาให้ดำเนินการดังนี้
1). บันทึกขออนุมัติต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ขอเปิดรายวิชา โดยระบุ รหัสวิชา ชื่อวิชา วันและเวลาเรียน และอาจารย์ผู้สอนที่ถูกต้อง พร้อมเหตุผลการขอเปิดรายวิชา
2). ระบุรหัสและชื่อนักศึกษาที่มีความประสงค์จะลงทะเบียนมาในบันทึก
3). กรณีมีเรื่องเงินค่าสอน โปรดระบุเรื่องเงินค่าสอนแจ้งมาในบันทึก เช่น ขอเบิกค่าสอน 60 % หรือไม่ขอเบิกเงินค่าสอน
2. การขอแก้ไขข้อมูลของรายวิชาในระบบบริหารการศึกษา
เช่น วันและเวลาเรียน ห้องเรียน ตอนเรียน คุณสมบัติผู้ลงทะเบียน ชื่อผู้สอน ให้บันทึกถึงผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้อง บอกจุดประสงค์ที่ชัดเจน เช่น ขอเปลี่ยนวันและเวลาสอนจากวันอังคาร เวลา 9.00-12.00 น. ไปเป็นวันพุธ เวลา 11.00-14.00 น. โดยห้องเรียนและผู้สอนคงเดิม (สามารถดำเนินการได้ถ้าข้อมูลไม่ซ้ำซ้อน)
หากแก้ข้อมูลเป็นจำนวนมากขอได้โปรดทำเป็นตารางเทียบการแก้ไขระหว่างข้อมูลเดิมกับข้อมูลใหม่ให้ชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการดำเนินการ

3. การขอเพิ่มข้อมูลผู้สอนเข้าในระบบ บริหารการศึกษา
เมื่ออาจารย์ตรวจสอบแล้วรายวิชาและตอนเรียนที่อาจารย์ทำการสอนไม่ปรากฏในระบบบริหารการศึกษาของอาจารย์โปรดดำเนินการดังนี้
1. บันทึกข้อความจากศูนย์การศึกษาหรือหลักสูตรและคณะมายัง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยระบุ รหัสอาจารย์ ชื่อสกุลอาจารย์ รหัสวิชา ชื่อวิชาและตอนเรียน ที่ทำการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง หรือ
2. เขียนลงแบบฟอร์มแล้วส่งที่สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมวิชาการละงานทะเบียน
โดย Download แบบฟอร์มได้ที่ http://regis.dusit.ac.th ข้อมูลบริการ หัวข้อ แบบฟอร์มต่าง ๆ แล้วไปใน Teacher From ที่ชื่อว่า แบบฟอร์มแจ้งรายวิชาเรียนที่ขาดในระบบบริหารการศึกษา

4. การจัดตารางเรียน-ตารางสอน
ดำเนินการตามประกาศของมหาวิทยาลัย เรื่อง กิจกรรมวิชาการของผู้ประสานงานวิชาการ โดยสามารถ Download ดูประกาศได้ที่ http://regis.dusit.ac.th/ เว็บไซท์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ข้อมูลบริการ หัวข้อบรรทัดที่ 2 ชื่อ ปฏิทินวิชาการ แล้วเลือกภาคเรียนที่ต้องการ

5. การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา

1) การลงทะเบียนจองรายวิชาของภาคเรียนถัดไป จะดำเนินการก่อนสิ้นภาคเรียนปัจจุบันตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง กิจกรรมวิชาการของนักศึกษา โดยมีกำหนดระยะเวลาไว้แล้ว ดังนั้น ที่สำคัญคือ รายวิชาที่ผู้ประสานงานวิชาการทุกท่านเปิดไว้ในระบบบริหารการศึกษาให้นักศึกษาลงทะเบียนต้องเสร็จตามกำหนดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง กิจกรรมวิชาการของผู้ประสานงานวิชาการ (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)

2) การลงทะเบียนเรียน เพิ่ม- ถอนรายวิชา (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
กรณี นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มรายวิชา ทำได้ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน ซึ่งวันที่เปิดระบบบริหารการศึกษาให้ดำเนินการจะเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย ฯ
นักศึกษาสามารถดำเนินการในระบบบริหารการศึกษาได้เองตามวันที่กำหนด ไม่ว่านักศึกษาจะลงทะเบียนยังไม่ครบหน่วยกิตที่กำหนดหรือไม่เคยลงทะเบียนเลยก็สามารถทำได้ แต่นักศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระของภาคเรียนที่ผ่านมาแล้วและสถานภาพนักศึกษาเป็นปกติ

กรณี ถอนรายวิชา (ไม่ได้รับผลการเรียนเป็น W ) จะทำได้ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย ฯ ซึ่งนักศึกษาต้องยื่นคำร้องที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และสำหรับนักศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษายื่นคำร้องได้ที่สำนักงานศูนย์การศึกษา นักศึกษาที่ดำเนินการในกำหนดจะไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนเรียนล่าช้า เป็นจำนวนเงิน 500 บาท
หมายเหตุ
ขอเน้นย้ำว่า หากพ้นกำหนดแล้วนักศึกษาต้องยื่นเรื่องขอยกเลิกรายวิชาเพื่อรับผลการเรียน “W” ซึ่งทำได้ตั้งแต่พ้นกำหนดการเพิ่ม-ถอนรายวิชาของแต่ละภาคเรียน และไม่เกิน 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการสอบปลายภาค


3) การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
นักศึกษาขออนุญาตลงทะเบียนเรียนข้ามภาคกับนักศึกษาภาคปกติ ภาคสมทบ และภาคปกติ (นอกเวลา) จะทำได้ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน โดยพิจารณาเฉพาะนักศึกษาที่มีความจำเป็นที่ลงทะเบียนยังไม่ครบตามที่กำหนดและเป็นรายวิชาที่ไม่เปิดสอนในภาคปกติ ภาคสมทบและภาคปกติ (นอกเวลา) ของนักศึกษา (โปรดระวังนักศึกษาขออนุญาตลงรายวิชาที่มีข้อกำหนดว่าต้องผ่านรายวิชาใดมาก่อนหรือขอลงทะเบียนข้ามภาคควบกันระหว่างรายวิชาที่มีข้อกำหนดให้เรียนมาก่อนจึงจะลงได้ รวมถึงนักศึกษาไม่มีหนี้ค้างชำระของภาคเรียนที่ผ่านมาแล้ว)

4) การลงทะเบียนเรียน(จำนวนหน่วยกิตเกินจากเกณฑ์ที่กำหนด)
นักศึกษายื่นคำร้องลงทะเบียนเรียน(จำนวนหน่วยกิตเกินจากเกณฑ์ที่กำหนด) ในกรณีที่เป็นภาคเรียนสุดท้ายกำลังจะสำเร็จการศึกษา และลงทะเบียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดได้ที่ศูนย์การศึกษาและสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนโดยนักศึกษาต้องแนบเอกสารมากับคำร้องดังนี้
4.1 ใบรายงานผลการลงทะเบียน (มสด 13.2) ของภาคเรียนนั้น
4.2 ใบรายงานผลการศึกษา (มสด.29) ทุกภาคเรียน
4.3 ถ้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง ต้องแนบวุฒิ ปวส.มาด้วย
ทั้งนี้ นักศึกษาต้องใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้อง และไม่มีหนี้ค้างชำระในภาคเรียนที่ผ่านมาแล้ว

5) การขอลงทะเบียนเรียนล่าช้า (พ้นกำหนดการเพิ่ม-ถอนรายวิชา) (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี2550) นักศึกษาที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนหรือยังลงทะเบียนไม่ครบตามหน่วยกิตที่กำหนด สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนล่าช้าได้ที่สำนักงานศูนย์การศึกษาและสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยต้องชำระค่าธรรมเนียม กรณีนักศึกษาระดับปริญญาตรีลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด จำนวน 500 บาท ซึ่งนักศึกษาสามารถยื่นขอลงทะเบียนเรียนข้ามภาคล่าช้าได้ด้วยแต่ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมเหมือนกัน
ทั้งนี้ ประกาศมหาวิทยาลัย ฯ ดังกล่าวไม่ใช้กับการขอถอนรายวิชาที่พ้นกำหนดไปแล้ว ดังนั้นอย่าให้นักศึกษาชำระเงินค่าถอนรายวิชา นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา)

6) การขอลงทะเบียนเรียนย้อนหลัง (ปรากฏผลการเรียน)
นักศึกษายื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ไม่ได้ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ผ่านไปแล้ว โดยอาจารย์ผู้สอนส่งผลการเรียนเข้ามาไว้ที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เมื่อตรวจสอบพบผลการเรียนก็จะดำเนินการลงทะเบียนเรียนให้นักศึกษา แต่นักศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระในภาคเรียนใด ๆ เลย (ภาคเรียนปัจจุบันด้วย) ซึ่งตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2550 เป็นต้นไปนักศึกษาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด จำนวน 500 บาทก่อน จึงจะลงทะเบียนให้ และแจ้งนักศึกษาชำระเงินค่าหน่วยกิตและค่าปรับของการชำระเงินล่าช้าด้วย
5. การตัดตอนเรียน
ก่อนเปิดภาคเรียนนั้น ๆ เจ้าหน้าที่วิชาการของศูนย์การศึกษาต้องเข้าไปตัดตอนเรียนในระบบบริหารการศึกษาที่ เมนูตัดตอนเรียน เพื่อเป็นการให้สิทธิ์เรียนแก่นักศึกษา และนักศึกษาที่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ของตอนเรียนนั้นจะได้ทราบว่าตนเองไม่ได้สิทธิ์เรียน เพื่อลงทะเบียนใหม่ ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน

6. การสอบเทียบความรู้
นักศึกษายื่นคำร้องหรือศูนย์การศึกษาบันทึกเสนอรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เพื่อพิจารณามีเอกสารประกอบดังนี้ 1. ใบรายงานผลการศึกษา (มสด.29) ทุกภาคเรียน
2. สำเนาวุฒิการศึกษาปวส. หรือถ้ามีรายวิชาที่ยกเว้นหรือเทียบโอนแนบมาด้วย
โดยการสอบเทียบจะเป็นการสอบเทียบ 100 %

7. การสอบปลายภาคเรียน (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
1. การรับข้อสอบปลายภาคไปเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์การศึกษานั้น ศูนย์ในกรุงเทพ ฯและปริมณฑลจะมารับและส่งคืนวันต่อวัน ส่วนศูนย์ต่างจังหวัดจะมารับก่อนวันสอบไม่เกิน 2 วัน และส่งคืนไม่เกิน 3 วันนับจากวันสุดท้ายที่ศูนย์ ฯ มีการสอบ ซึ่งผู้รับ-ส่งข้อสอบจะมีคำสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ ต้องส่งสรุปรายงานการดำเนินการจัดสอบปลายภาคเมื่อเสร็จสิ้นการสอบตามวันที่คำสั่ง ฯ กำหนด
2. การทุจริตการสอบจะมีแนวปฏิบัติให้ในคู่มือนักศึกษาและระเบียบมหาวิทยาลัย ฯ ว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบและกรรมการกำกับการสอบ สามารถ Download ดูระเบียบได้ที่ http://regis.dusit.ac.th/ เว็บไซท์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ข้อมูลบริการ หัวข้อบรรทัดที่ 1 ชื่อ ประกาศมหาวิทยาลัย ฯ แล้วเลือกที่ระเบียบดังกล่าว
เมื่อเกิดการสงสัยว่าทุจริตในการสอบต้องให้นักศึกษาลงลายมือชื่อรับทราบ หากนักศึกษาไม่ยอมลงลายมือชื่อเพื่อรับทราบให้กรรมการกำกับการสอบรายงานบันทึกพฤติกรรมเพิ่มเติมเพื่อเสนอต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

8. การขออนุญาตสอบเวลาพิเศษและตารางสอบซ้อน (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
การสอบลักษณะนี้เป็นการพิจารณาอนุญาตให้สอบเฉพาะนักศึกษาผู้ที่มีความจำเป็นเท่านั้น และมีเหตุผลเพียงพอ โดยยื่นคำร้องมาเสนอขออนุญาตหรือศูนย์การศึกษาบันทึกข้อความขออนุญาต โดยกำหนดการสอบจะเป็นการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป หากไม่ยื่นคำร้องขออนุญาตและขาดสอบต้องมายื่นคำร้องขอสอบเนื่องจากขาดสอบปลายภาค


9. การจัดสอบกรณีขาดสอบปลายภาค (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
นักศึกษาต้องยื่นคำร้องในวันที่ตามประกาศของมหาวิทยาลัย ฯ และมาเข้าสอบตามวันและเวลาที่ประกาศ นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบที่ศูนย์ใดต้องไปสอบขาดสอบที่ศูนย์นั้น หากไม่เข้าสอบถือว่าสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัย ฯ จะไม่จัดสอบให้กับนักศึกษา และผลการเรียนในส่วนที่ขาดสอบเป็น “ศูนย์” แล้วจะดำเนินการปรับผลการเรียนตามคะแนนเก็บที่มี
ทั้งนี้ นักศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระในภาคเรียนใด ๆ เลย (รวมภาคเรียนปัจจุบัน) จึงจะดำเนินการได้