“ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด มีความสามารถที่จะช่วยเหลืออะไรใครได้ก็ทำอย่างเต็มที่”
อาจารย์ณัฐชวนันท์ จันทคนธ์
เชื่อแน่ว่าหลายท่านคงได้เคยอ่านหนังสือหรือเคยได้ชมละครทางโทรทัศน์เรื่อง “สี่แผ่นดิน” บทประพันธ์เรื่องเยี่ยมของ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช กันมาแล้ว ซึ่ง “แม่พลอย” ตัวเอกในเรื่องนั้นใช้ชีวิตอยู่ในรัชกาลของพระเจ้าแผ่นดินไทยถึงสี่พระองค์ ในชีวิตจริงนั้นก็มีเรื่องราวชีวิตของบุคคลผู้น่าสนใจท่านหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนให้ความเคารพเป็นอย่างยิ่ง ท่านคลุกคลีกับงานทะเบียนและวัดผลมานานเกือบ 50 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวเดินทางมากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรั้วแดงแห่งนี้ ตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตยังมีสถานะเป็นโรงเรียนการเรือนพระนคร ต่อมายกสถานะเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และปัจจุบัน คือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตตามลำดับ ท่านอาจารย์ ญัฐชวนันท์ จันทคนธ์ ขณะนี้ท่านอายุ 72 ปี ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
“แม่ไม่มีสมบัติไว้ให้ มีแต่การศึกษาเล่าเรียนเท่านั้นที่จะให้ไว้เป็นทุนเลี้ยงชีพ” เป็นคำพูดที่แสดงความตั้งใจแน่วแน่ของคุณแม่ของอาจารย์ ณัฐชวนันท์ ซึ่งท่านจำไว้ในใจอยู่เสมอ จึงทำให้ท่านได้เริ่มต้นการศึกษาโดยจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดหลวงราชาวาส จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนสตรีอุทัยธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดอุทัยธานีจนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2492 ด้วยผลการเรียนในระดับ “ดีมาก” จนเกิดเสียงร่ำลือกันว่าท่าน “เปิดหนังสือตอบ” ซึ่งท่านยืนยันว่าไม่เป็นความจริงเลย การที่ท่านศึกษาในระดับที่สูงกว่าเด็กผู้หญิงในสมัยนั้นที่จบแล้วก็ไปเป็นครูสอนเด็กแถวบ้านและมีครอบครัวเสียเป็นส่วนมาก รวมถึงยังขัดแย้งกับความคิดของคนรอบข้าง เช่น คุณป้าของท่านที่สบประมาทท่านไว้ก็ไม่สามารถหยุดการศึกษาของท่านลงเพียงเท่านี้ได้ ยกเว้นคุณแม่เท่านั้นที่มองเห็นการณ์ไกลให้การสนับสนุน ท่านจึงมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อโดยไปสมัครสอบชิงทุนของจังหวัดอุทัยธานีศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรี ในสถานศึกษาจังหวัดใกล้เคียง โดยวันที่ไปสอบสัมภาษณ์นั้นท่านนั่งรอเรียกอยู่นาน จนได้รับแจ้งว่าได้อนุมัติการคัดเลือกทุนให้กับลูกของรองศึกษาธิการจังหวัดไปเรียบร้อยแล้ว
ท่านเสียใจและเจ็บใจมากกับการเล่นเส้นสายกันในวงราชการสมัยนั้น ใช้อำนาจมาตัดสิทธิ์ของท่านทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้สัมภาษณ์เลย แต่ผลจากการถูกกระทำดังกล่าวทำให้ท่านมุมานะยิ่งขึ้น ท่านจึงสมัครสอบชิงทุนเข้าศึกษาโรงเรียนเทพสตรีวิทยาลัย (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี) ในระดับ ครูมูล หรือ ครู ป. (ประโยคครู) ที่เรียกกันในสมัยนั้น มีระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษาสามารถเป็นครูสอนหนังสือได้ ซึ่งอาจารย์ ณัฐชวนันท์ มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษา
ช่วง พ.ศ. 2493-2495 นั้น ท่านพิจารณาแล้วว่า ในเมื่อคนจังหวัดเดียวกันไม่ให้โอกาส ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร โดยมาพักกับญาติที่หลัง วัดชนะสงคราม ทำหน้าที่ช่วยงานในบ้านเป็นการตอบแทน เพื่อมาสอบแข่งขันเข้าเรียนฝึกหัดครู ระดับ ป.ป. หรือ ประโยคครูประถม ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในปัจจุบัน (สมัยนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า “เพชรยาว”) หลักสูตรนี้ต้องเรียน 3 ปี แต่ช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาประเทศไทยเกิดการขาดแคลนครูเป็นอย่างมาก ทางกรมฝึกหัดครูจึงปรับหลักสูตรให้สามารถจบการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง อาจารย์ท่านจึงจบการศึกษาในหลักสูตรเร่งรัดนี้ด้วย
“แม่ไม่มีสมบัติไว้ให้ มีแต่การศึกษาเล่าเรียนเท่านั้นที่จะให้ไว้เป็นทุนเลี้ยงชีพ” เป็นคำพูดที่แสดงความตั้งใจแน่วแน่ของคุณแม่ของอาจารย์ ณัฐชวนันท์ ซึ่งท่านจำไว้ในใจอยู่เสมอ จึงทำให้ท่านได้เริ่มต้นการศึกษาโดยจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดหลวงราชาวาส จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนสตรีอุทัยธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดอุทัยธานีจนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2492 ด้วยผลการเรียนในระดับ “ดีมาก” จนเกิดเสียงร่ำลือกันว่าท่าน “เปิดหนังสือตอบ” ซึ่งท่านยืนยันว่าไม่เป็นความจริงเลย การที่ท่านศึกษาในระดับที่สูงกว่าเด็กผู้หญิงในสมัยนั้นที่จบแล้วก็ไปเป็นครูสอนเด็กแถวบ้านและมีครอบครัวเสียเป็นส่วนมาก รวมถึงยังขัดแย้งกับความคิดของคนรอบข้าง เช่น คุณป้าของท่านที่สบประมาทท่านไว้ก็ไม่สามารถหยุดการศึกษาของท่านลงเพียงเท่านี้ได้ ยกเว้นคุณแม่เท่านั้นที่มองเห็นการณ์ไกลให้การสนับสนุน ท่านจึงมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อโดยไปสมัครสอบชิงทุนของจังหวัดอุทัยธานีศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรี ในสถานศึกษาจังหวัดใกล้เคียง โดยวันที่ไปสอบสัมภาษณ์นั้นท่านนั่งรอเรียกอยู่นาน จนได้รับแจ้งว่าได้อนุมัติการคัดเลือกทุนให้กับลูกของรองศึกษาธิการจังหวัดไปเรียบร้อยแล้ว
ท่านเสียใจและเจ็บใจมากกับการเล่นเส้นสายกันในวงราชการสมัยนั้น ใช้อำนาจมาตัดสิทธิ์ของท่านทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้สัมภาษณ์เลย แต่ผลจากการถูกกระทำดังกล่าวทำให้ท่านมุมานะยิ่งขึ้น ท่านจึงสมัครสอบชิงทุนเข้าศึกษาโรงเรียนเทพสตรีวิทยาลัย (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี) ในระดับ ครูมูล หรือ ครู ป. (ประโยคครู) ที่เรียกกันในสมัยนั้น มีระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษาสามารถเป็นครูสอนหนังสือได้ ซึ่งอาจารย์ ณัฐชวนันท์ มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษา
ช่วง พ.ศ. 2493-2495 นั้น ท่านพิจารณาแล้วว่า ในเมื่อคนจังหวัดเดียวกันไม่ให้โอกาส ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร โดยมาพักกับญาติที่หลัง วัดชนะสงคราม ทำหน้าที่ช่วยงานในบ้านเป็นการตอบแทน เพื่อมาสอบแข่งขันเข้าเรียนฝึกหัดครู ระดับ ป.ป. หรือ ประโยคครูประถม ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในปัจจุบัน (สมัยนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า “เพชรยาว”) หลักสูตรนี้ต้องเรียน 3 ปี แต่ช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาประเทศไทยเกิดการขาดแคลนครูเป็นอย่างมาก ทางกรมฝึกหัดครูจึงปรับหลักสูตรให้สามารถจบการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง อาจารย์ท่านจึงจบการศึกษาในหลักสูตรเร่งรัดนี้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น