วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2550

โครงการ KM For Fun...D

เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2550 เนื่องจากได้ศึกษารายวิชา เครื่องมือการจัดการสำหรับการจัดการความรู้ กำหนดให้นักศึกษาฝึกการบูรณาการความรู้ โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้ จากทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินกิจกรรม โดยให้นักศึกษาจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของโครงการมาจัดตั้ง กองทุน KM Fun…D Learning เพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา KM ที่ร่วมกันจัดทุกชั้นปี หลักสูตรการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


2. เพื่อเป็นการบูรณาการความรู้โดยใช้เครื่องมือสำหรับการจัดการความรู้หลายรูปแบบสำหรับการดำเนินกิจกรรม
3. เพื่อนำความรู้จากการศึกษาการจัดการความรู้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและช่วยในด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน


ผลการดำเนินงานโครงการสำเร็จสิ้นเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยโดยได้ผมการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ ทำให้นักศักษา KM ทุกรุ่นได้พบปะพูดคัยและทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ทำในสื่งที่ไม่เคยทำ ได้คิดสร้างสรรค์เพราะเป็นงานที่ตนเองต้องแสดงศักยภาพออกมา ผมรู้สึกดีกับงานนี้มากครับ





บ้านเฟื้องฟ้า แด่น้อง ๆ ผู้น่ารัก



เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2550 นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้ ได้เดินทางไปยังสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา บ้านเฟื้องฟ้า ซึ่งอุปการะเด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญาไว้ประมาณ 500 คน ในครั้งนี้ได้นำสิ่งของที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป แป้งและขนม เป็นต้น พร้อมกับเงินบริจาคจากการดำเนินโครงการ KM For Fun...D จำนวน 4500 บาท ไปมอบให้






กิจกรรมเพื่อสังคม



กิจกรรมเพื่อสังคม
กิจกรรมจากใจพี่สู่น้อง “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่ชุมชน”
ณ โรงเรียนวัดดอนตูม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ด้วยงานแนะแนวของโรงเรียนวัดดอนตูมโดย อาจารย์วันเพ็ญ ศรีนวกุล ได้เล็งเห็นปัญหาการเลือกสถานที่ศึกต่อของนักเรียน ชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนตูม โดยส่วนใหญ่นักเรียนมีความคิดเห็นว่าจะไม่เลือกศึกษาต่อในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพราะว่าเป็นสถานศึกษาที่มีผู้เข้าเรียนเป็นจำนวนมากและมีอยู่หลายมหาวิทยาลัยราชภัฏในเกือบทุกจังหวัด และการเลือกเรียนสาขาวิชาต่าง ๆ นั้น นักเรียนจะเลือกเรียนสาขาวิชาที่ได้ยินบ่อยหรือเป็นที่นิยม โดยไม่คำนึงถึงความถนัดหรือความสามารถของตนเอง ทางกลุ่มจึงเดินทางไปยังโรงเรียนวัดดอนตูม เพื่อใช้ศาสตร์ของ KM คือ Story telling หนึ่งในเครื่องมือของการจัดการความรู้ เล่าถึงประสบการณ์ของกลุ่ม ในการเลือกสถานศึกษาและสาขาวิชา ตลอดจนเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถนำวิชาความรู้มาประกอบอาชีพ โดยมีขอบเขตของเนื้อหาดังนี้

1. คุณสุทัน มุมแดง เล่าถึง การเลือกสถานศึกษาต่อจนเข้ามาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
2. คุณณัฐวุฒิ ตันมณี เล่าถึง ให้คำแนะนำเรื่องการรับสมัครและการเลือกหลักสูตรสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
3. คุณทนงศักดิ์ อิศรางกูล เล่าถึง การศึกษาและการเลือกประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลือกสถานที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักเรียนชั้นมัทธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนตูม
2. เพื่อแนะแนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและวิธีการเลือกสาขาวิชาต่าง ๆ ตามความถนัดและความสามารถของนักเรียน

KM in NOK Precision Component (Thailand) Ltd.

KM in NOK Precision Component (Thailand) Ltd.
วันที่ 10 ก.ย. 2550
ผมได้มีโอกาสไปดูงานที่บริษัท NOK Precision Component (Thailand) Ltd. เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2544 โดยเริ่มการผลิตในวันที่ 1 เม.ย. 2545 มีเงินทุนจดทะเบียน 360 ล้านบาท จำนวนพนักงาน 750 คน (ณ วันที่ 31 พ.ค. 2550) ผลิตภัณฑ์หลัก คือ ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Top Cover,Ramp,Crash Stop,Latch) และชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค โดยกำหนดกลยุทธ์ดังนี้

กลยุทธ์เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
Smart System - สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
เทคโนโลยีสารสนเทศ - บริหารงานด้วยความโปร่งใส
- สร้างความสมดุลระหว่างคนกับระบบ

ผมยังได้เยี่ยมชมสถานที่ต่างของโรงงานซึ่งที่นี่มีแหล่งการเรียนรู้ขององค์กรจะมีอยู่ 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ ระบบ Intranet และต่อมาได้พัฒนาต่อยอดเป็น ระบบ Portal ขึ้นใช้เองในองค์กรเป็นที่รวบรวมข้อมูลของทุกฝ่าย ทุกกิจกรรมตลอดจน การลากิจ ลาป่วย เวลาทำงาน การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุมและกิจกรรมขององค์กรซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกจัดระบบไว้ในนี้ทุก ๆ สายงาน จะบรรลุข้อมูลงานของทุกคนลงใน Portal รวมทั้งรายงานในหน้าเดียว (One-page Report) โดยผลการดำเนินงานของทุกฝ่ายจะถูกใส่ในฐานข้อมูลและระบบจะดึงข้อมูลมาเพื่อสร้างรายงานวันละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้บริหารเกิดความสะดวกในการติดตามผลการดำเนินธุรกิจในทุก ๆ มุมขององค์กรได้ครบถ้วนในเวลาอันสั้นและนอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณกระดาษและแฟ้มเอกสารได้อย่างมากโดยสามารถเปิดดูข้อมูลที่ถูกปรับปรุงที่เป็นปัจจุบันที่สุดได้ในระบบ Portal นอกจากนี้องค์กรยังพยายามที่จะกระตุ้นให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรหนึ่งในกิจกรรมนั้นคือ Kaizen Suggestion ที่เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการเป็นต้นไป ได้นำเสนอข้อแนะนำว่าอยากจะปรับปรุงอย่างไร ให้กับองค์กรและคาดว่าผลที่ได้รับคืออะไรเมื่อพนักงานเขียนเสร็จแล้วจะรวบรวมเอกสารลงในระบบให้ผู้บริหารรับรู้และติดตามผลการดำเนินการตามคำแนะนำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองจะนำไปสู่การปฏิบติจริงและการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับการใช้ศาสตร์ของการจัดการความรู้นั้น ผมชื่นชมกับวิธีการที่บริษัทใส่ใจกับกระบวนการปฏิบัติงานและตัวพนักงาน ซึ่งทางบริษัทได้กำหนดยุทธ์ศาสตร์ไว้ดังนี้
KM in NOK Precision Component (Thailand) Ltd.
Small Group Activity - ทำงานเป็นทีม
กิจกรรมกลุ่มย่อย - ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ใช้หลัก Win-Win ในทุกหน่วยงาน
- องค์กรแห่งการเรียนรู้ :
การจัดการความรู้สู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง
- มีความเป็นมืออาชีพในงาน
- ดำรงการเติบโตของธุรกิจ

คือ กิจกรรมกลุ่มย่อยที่พนักงานทุกคน ทุกตำแหน่งมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น กิจกรรม 5 ส , ความปลอดภัย , TPM เป็นต้น บริษัท ฯ เริ่มทำกิจกรรม SGA มากกว่า 3 ปีแล้ว โดยเริ่มจากฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพและขยายทั่วทั้งองค์กรในปี 2548 โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ปฏิบัติงาน ประมาณ 8-10 คน โดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วย หัวหน้าทีม ลูกทีมและที่ปรึกษาที่มาจากพี่ ๆ ระดับ วิศวกร พนักงานประจำ พนักงานอาวุโส และผู้บริหารจากทุกแผนกปัจจุบันมี SGA จำนวน 65 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งองค์กรในการดำเนินกิจกรรม SGA สมาชิกในกลุ่มจะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กัน ประมาณ 10-30 นาที ในแต่ละวันทำการสำรวจสิ่งผิดปกติและส่วนที่ต้องปรับปรุงของทุกกิจกรรม เดือนละครั้ง การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานในพื้นที่ของตน ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องงาน โดยการสร้างบทเรียนที่เรียกว่า OPL (One Point Lesson) และKSS (Kaizen Suggestion System) ทุกกลุ่มสามารถที่จะค้นคว้าพัฒนาตนเองได้ โดยหาข้อมูลต่าง ๆ จากห้องสมุด เวบไซต์ข้อมูลภายในบริษัท ดูงานเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ และการสอนจากที่ปรึกษาและหน่วยงานฝึกอบรม เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานวิจัยภาษาอังกฤษที่สนใจ

Development of Efficient Knowledge management Composite Indicators
Jiracha Vicheanpanya,
Onjaree Natakuatoong
Vicharn Panich
(2006)
Keyword
1.Indicator
2.Composite
3.Knowledge management
4.Knowledge management composite indicators

เหตุผลที่เลือกงานวิจัยนี้
เป็นงานวิจัยที่ศึกษาการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวบ่งชี้ในการประเมินผลการจัดการความรู้ ว่าทำแล้วได้ผลดีมีประสิทธิภาพเพียงใด

1. Research Objectives
- To analyze the indicators and variables of efficient knowledge management.
- To study executives and experts opinions in regard to efficient knowledge management for Thailand.
- To propose a composite indicators of efficient knowledge management for Thailand.

2. Theory
1.Knowledge management Vision
2.Foundation
3.Transition and Behavior Management
4.Communication
5.Training and Learning
6.Knowledge Management Stages
7.Knowledge Management Process
8.Knowledge Management Enables
9.Knowledge Management Measurement


3. Conceptual framework

Independent variables
Dependent variables

-Individual
-Knowledge management team
-Leadership level


Human
-Vision/Mission statement/Strategic plan
-Belief system
-Motivational
-evaluation system

Organizational

-Information technology
-Communication technology
-Knowledge management technology
-learning technology Technology

4. Research Methodology and Statistic
This study is a qualitative research with following procedures.

4.1 Keys Informants
There are two groups of keys Informants as to indicators and variables of efficient knowledge management in Thailand.
1) Four executives who are direct responsibility for knowledge management of public and private sectors.
2) Ten knowledge management experts with following qualifications: (1) Being an executive with minimum one year experience in knowledge management of public or private agencies; (2) Being lecturer with doctorate degree or holding minimum academic position as an associate professor; (3) Being independent scholar with knowledge management experience of Thailand.

4.2 Instrument Used for Data Collection
The researcher uses semi-structure interview questions for depth-interview made with immediate executives responsible for organizational knowledge management as to indicators, variables , and best practices of efficient knowledge management in Thailand.

4.3 Data Collection
3.1 The dept-interview will be used with four immediate executives responsible for knowledge management of public and private sectors.
3.2 The focus group interview will be used with ten knowledge management experts.

4.4 Data Analysis
The researcher will rely upon content analysis and construct conclusion by inductive method.

5. Research result
5.1 Context indicator is external environment that having an effect on knowledge management, i.e. economic, political, social, and technology indicator.
5.2 Input indicator for efficient knowledge management can be divided into: (1) human indicator, relate to individual, knowledge management team, and leaders; (2) organization indicator, relate to vision/ mission/goal/strategy, value/belief system/organization culture, Information technology and communication, motivation and rewarding and evaluation.
5.3 Process indicator can be divided into: (1) human development indicator, relate to individual, group, and leadership development; (2) organizational development indicator such as change management, communication, training and learning, and knowledge management activities and processes.
5.4 Out indicator is consequence of knowledge management relate to human capital, and organizational capital such as work process improvement, new knowledge/products/services, and relationship.

งานวิจัยภาษาไทยที่สนใจ

กระบวนการและปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้ในองค์กร: ศึกษากรณี ศูนย์สุขภาพจิตเขต กรมสุขภาพจิต
นางธิดา จุลินทร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม)
พ.ศ. 2549

1. เหตุผลที่เลือกงานวิจัยนี้
1. เป็นวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาการใช้กระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร
2. กรมสุขภาพจิตทำแล้วประสบผลสำเร็จในการกระบวนการจัดการความรู้
3. ความสำเร็จนั้นน่าจะมาจากการที่มีบุคลากรจำนวนน้อย แต่สามารถทำให้เกิดขึ้น
จริงได้

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ศูนย์สุขภาพจิตเขต
2. เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factors) ในการจัดการความรู้ศูนย์
สุขภาพจิตเขต
3. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดการจัดการความรู้ของศูนย์สุขภาพจิตเขต

3. ทฤษฎีและแนวคิด
1.แนวคิดเกี่ยวกับความรู้
1.1 ความหมายของความรู้
1.2 องค์ประกอบของความรู้
1.3 กระบวนการของความรู้
2.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
2.1 ความหมายของการจัดการความรู้
2.2 กระบวนการจัดการความรู้
2.3 เป้าหมายและประโยชน์ของการจัดการความรู้
2.4 หลักการจัดการความรู้
2.5 กลยุทธ์ในการจัดการความรู้
2.6 ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จของการจัดการความรู้
2.7 เครื่องมือในการจัดการความรู้
2.8 การวัดผลการจัดการความรู้

กรอบแนวคิดในการวิจัย
สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ
-กระบวนการจัดการความรู้
-ปัจจัยความสำเร็จ
-ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินการ
จัดการความรู้ในศูนย์สุขภาพจิตเขต

การศึกษาแนวคิดทฤษฎี
และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการความรู้ในองค์กร วิเคราะห์และ
รวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนการจัดการความรู้
1.การบ่งชี้หรือระบุความรู้
กระบวนการและปัจจัยความสำเร็จ
ของการจัดการความรู้2.การสร้างและแสวงหาความรู้
3.การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ
4.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
5.การเข้าถึงความรู้
6.การเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
7.การติดตามผล
ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้
ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการ
ความรู้


4. เครื่องมือและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยผู้ศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา เอกสาร วารสาร บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีทำแบบสอบถามและสัมภาษณ์บุคลากรในกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในองค์กรจำนวน 15 คน

วิธีการเก็บข้อมูล
1. ข้อมูลทุติยภูมิ ได้จากการศึกษาค้นคว้า ทบทวน และเรียบเรียงจากหนังสือ ตำราวิชาการ งานวิจัย บทความวารสาร และเอกสารวิชาการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ของกรมสุขภาพจิต
2. ข้อมูลปฐมภูมิ ได้จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์บุคลากรขององค์กรที่ศึกษา นำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ตามหลักตรรกศาสตร์ และใช้สถิติอย่างง่ายในการจำแนก คือ การหาค่าร้อยละ

5. ผลการวิจัย
1. กระบวนการจัดการความรู้ในศูนย์สุขภาพจิตเขต 3 องค์กร พบว่า การจัดตั้ง
ทีมงานเป็นบุคลากรจากกลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิตและจิตรเวช ในส่วนของ
ขั้นตอนการจัดการความรู้นั้น
2. ศูนย์สุขภาพจิต B ดำเนินการได้ครบทั้ง 7 ขั้นตอน คือ การบ่งชี้,การสร้างและ
แสวงหาความรู้, การจัดความรู้ให้เป็นระบบ, การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้,
การเข้าถึงความรู้, การเรียนรู้และนำไปใช้ และ การติดตามประเมินผล
3. ศูนย์สุขภาพจิต Q ดำเนินการได้ 6 ขั้นตอน ขาดขั้นตอนที่ 7 คือ การติดตาม
ประเมินผล
4. ศูนย์สุขภาพจิต X ดำเนินการได้เพียง 5 ขั้นตอน ขาดขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่
7 คือ การบ่งชี้ความรู้และการติดตามประเมินผล

ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
1. ผู้นำให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
2. บุคลากรให้ความสำคัญให้ความร่วมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและวัคถุประสงค์
3. เทคโนโลยีและวัฒนธรรมองค์กรเอื้อให้เกิดการการจัดการความรู้



ปัญหาและอุปสรรค
1. บุคลากรมีน้อย ภาระงานมีมาก
2. เวลาในการดำเนินการมีน้อย
3. บุคลากรบางคนขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะของการจัดการความรู้
4. บุคลากรบางคนไม่เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้
Question
1. จากงานวิจัยนี้ท่านคิดว่าองค์กรแบบใดจึงจะสามารถประสบผลสำเร็จได้
เหมือนกับศูนย์สุขภาพจิตเขต
2. ท่านคิดว่าขั้นตอนของกระบวนการจัดการความรู้ที่ไม่ประสบผลสำเร็จจะแก้ไข
ได้อย่างไร
3. กระบวนการจัดการความรู้กับขนาดขององค์กรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
4. อะไรมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จในกระบวนการจัดการความรู้
5. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจะแก้ไขด้วยวิธีใด

charity

ได้ความรู้ คู่บุญกันถ้วนหน้าครับ

72 ปี การศึกษา คือ อนาคต


“ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด มีความสามารถที่จะช่วยเหลืออะไรใครได้ก็ทำอย่างเต็มที่”
อาจารย์ณัฐชวนันท์ จันทคนธ์
เชื่อแน่ว่าหลายท่านคงได้เคยอ่านหนังสือหรือเคยได้ชมละครทางโทรทัศน์เรื่อง “สี่แผ่นดิน” บทประพันธ์เรื่องเยี่ยมของ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช กันมาแล้ว ซึ่ง “แม่พลอย” ตัวเอกในเรื่องนั้นใช้ชีวิตอยู่ในรัชกาลของพระเจ้าแผ่นดินไทยถึงสี่พระองค์ ในชีวิตจริงนั้นก็มีเรื่องราวชีวิตของบุคคลผู้น่าสนใจท่านหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนให้ความเคารพเป็นอย่างยิ่ง ท่านคลุกคลีกับงานทะเบียนและวัดผลมานานเกือบ 50 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวเดินทางมากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรั้วแดงแห่งนี้ ตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตยังมีสถานะเป็นโรงเรียนการเรือนพระนคร ต่อมายกสถานะเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และปัจจุบัน คือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตตามลำดับ ท่านอาจารย์ ญัฐชวนันท์ จันทคนธ์ ขณะนี้ท่านอายุ 72 ปี ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
“แม่ไม่มีสมบัติไว้ให้ มีแต่การศึกษาเล่าเรียนเท่านั้นที่จะให้ไว้เป็นทุนเลี้ยงชีพ” เป็นคำพูดที่แสดงความตั้งใจแน่วแน่ของคุณแม่ของอาจารย์ ณัฐชวนันท์ ซึ่งท่านจำไว้ในใจอยู่เสมอ จึงทำให้ท่านได้เริ่มต้นการศึกษาโดยจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาลวัดหลวงราชาวาส จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนสตรีอุทัยธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดอุทัยธานีจนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2492 ด้วยผลการเรียนในระดับ “ดีมาก” จนเกิดเสียงร่ำลือกันว่าท่าน “เปิดหนังสือตอบ” ซึ่งท่านยืนยันว่าไม่เป็นความจริงเลย การที่ท่านศึกษาในระดับที่สูงกว่าเด็กผู้หญิงในสมัยนั้นที่จบแล้วก็ไปเป็นครูสอนเด็กแถวบ้านและมีครอบครัวเสียเป็นส่วนมาก รวมถึงยังขัดแย้งกับความคิดของคนรอบข้าง เช่น คุณป้าของท่านที่สบประมาทท่านไว้ก็ไม่สามารถหยุดการศึกษาของท่านลงเพียงเท่านี้ได้ ยกเว้นคุณแม่เท่านั้นที่มองเห็นการณ์ไกลให้การสนับสนุน ท่านจึงมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อโดยไปสมัครสอบชิงทุนของจังหวัดอุทัยธานีศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรี ในสถานศึกษาจังหวัดใกล้เคียง โดยวันที่ไปสอบสัมภาษณ์นั้นท่านนั่งรอเรียกอยู่นาน จนได้รับแจ้งว่าได้อนุมัติการคัดเลือกทุนให้กับลูกของรองศึกษาธิการจังหวัดไปเรียบร้อยแล้ว
ท่านเสียใจและเจ็บใจมากกับการเล่นเส้นสายกันในวงราชการสมัยนั้น ใช้อำนาจมาตัดสิทธิ์ของท่านทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้สัมภาษณ์เลย แต่ผลจากการถูกกระทำดังกล่าวทำให้ท่านมุมานะยิ่งขึ้น ท่านจึงสมัครสอบชิงทุนเข้าศึกษาโรงเรียนเทพสตรีวิทยาลัย (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี) ในระดับ ครูมูล หรือ ครู ป. (ประโยคครู) ที่เรียกกันในสมัยนั้น มีระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษาสามารถเป็นครูสอนหนังสือได้ ซึ่งอาจารย์ ณัฐชวนันท์ มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษา
ช่วง พ.ศ. 2493-2495 นั้น ท่านพิจารณาแล้วว่า ในเมื่อคนจังหวัดเดียวกันไม่ให้โอกาส ท่านจึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร โดยมาพักกับญาติที่หลัง วัดชนะสงคราม ทำหน้าที่ช่วยงานในบ้านเป็นการตอบแทน เพื่อมาสอบแข่งขันเข้าเรียนฝึกหัดครู ระดับ ป.ป. หรือ ประโยคครูประถม ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในปัจจุบัน (สมัยนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า “เพชรยาว”) หลักสูตรนี้ต้องเรียน 3 ปี แต่ช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาประเทศไทยเกิดการขาดแคลนครูเป็นอย่างมาก ทางกรมฝึกหัดครูจึงปรับหลักสูตรให้สามารถจบการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง อาจารย์ท่านจึงจบการศึกษาในหลักสูตรเร่งรัดนี้ด้วย

72 ปี การศึกษา คือ อนาคต (2)

อาจารย์เริ่มงานการสอนครั้งแรกที่ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ซึ่งระหว่างเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนสตรีวัดระฆัง อยู่นั้น อาจารย์เรียนกวดวิชาที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในตอนเย็นหลังเสร็จงานสอนและตอนกลางคืนยังไปเรียนพิเศษ ภาษาฝรั่งเศส เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย อาจารย์ใช้ชีวิตกับการสอนนักเรียนอยู่ประมาณ 1 ปี ท่านจึงไปสอบเข้าเรียน ระดับปริญญาตรี ซึ่งท่านเลือกไปสมัครสอบ 2 สถานศึกษาด้วยกัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ วิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ผลการสอบนั้นท่านสอบติดทั้ง 2 ที่ ถ้าเป็นความคิดของนักศึกษาในปัจจุบันต้องเลือกเรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน แต่อาจารย์ท่านเลือกเรียนที่ วิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน เพราะที่นี่ให้ทุนการศึกษา ซึ่งท่านเข้าศึกษาใน แผนกมัธยมศึกษา สาขา ประวัติศาสตร์ จนจบหลักสูตรปี พ.ศ.2502 จึงได้กลับมาเริ่มชีวิตแม่พิมพ์ของชาติอีกครั้งในรั้วแดง โรงเรียนการเรียนพระนคร สังกัดกองโรงเรียนฝึกหัดครู กรมการฝึกหัดครู อาจารย์ณัฐชวนันท์ เริ่มงานการสอนหนังสือไปพร้อม ๆ กับรับทำงานในฝ่ายทะเบียนไปด้วย จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านผูกพันกับงานทะเบียนมาถึงทุกวันนี้ อาจารย์ทำงานประมาณ 2 ปี โรงเรียนการเรือนพระนครได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูสวนดุสิต” เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งแตก่อนนั้นขั้นของครูเริ่มทำงานจะเริ่มที่ “ครูจัตวา” ก่อน และขั้นต่อ ๆ ไปจะต้องผ่านการพิจารณาจึงจะได้เลื่อนขั้นจนถึง “ครูโท” แล้วการจะได้ขั้น “ครูเอก” ต้องผ่านการสอบ ซึ่งอาจารย์ณัฐชวนันท์สามารถสอบผ่านและสอบได้เป็นที่ 2 ของประเทศ สร้างความภาคภูมิใจให้กับกับท่านและครอบครัวเป็นอย่างมาก ประมาณปี พ.ศ. 2515 อาจารย์ขอไปศึกษา“ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ” ณ วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร (ว.ศ.) เป็นการเรียนที่เน้นการเพิ่มความรู้และ ความชำนาญในสาขาวิชาเอกของตนเองให้มากยิ่งขึ้น คือ สาขา ประวัติศาสตร์ เรียนประมาณ 1 ปี จึงจบหลักสูตรโดยอาจารย์เป็นรุ่นที่ 1 ของหลักสูตรนี้

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เปิดตัวหัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนคนใหม่

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จัดประชุมตารางสอบเทอม 2-50

จึงขอเปิดตัวหัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนคนใหม่ อะฮ้า

ท่าน อ. จิตราพร จันทรกูล

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

72 ปี การศึกษา คือ อนาคต (3)

ประมาณปี พ.ศ. 2515 อาจารย์ขอไปศึกษา “ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาเฉพาะ” ณ วิทยาลัยการศึกษา ประสานมิตร (ว.ศ.) เป็นการเรียนที่เน้นการเพิ่มความรู้และ ความชำนาญในสาขาวิชาเอกของตนเองให้มากยิ่งขึ้น คือ สาขา ประวัติศาสตร์ เรียนประมาณ 1 ปี จึงจบหลักสูตร โดยอาจารย์เป็นรุ่นที่ 1 ของหลักสูตรนี้ ปีต่อมา พ.ศ. 2516 อาจารย์ขอลาไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขา ประวัติศาสตร์ เพราะเห็นว่าวิทยาลัยครูสวนดุสิตเปิดสอนระดับปริญญาตรีประมาณปี พ.ศ. 2529 อาจารย์ณัฐชวนันท์ได้ริเริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานฝ่ายทะเบียนในปีนี้เองที่ อาจารย์ ณัฐชวนันท์ได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายทะเบียนคนใหม่ปี พ.ศ. 2534 ท่านได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นหัวหน้าสำนักส่งเสริมวิชาการ จนถึงปี พ.ศ. 2537 ท่านจึงเกษียณอายุราชการถึงแม้จะเกษียณอายุราชการไปแล้วท่านก็ยังได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตรวจสอบการสำเร็จการศึกษา ณ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันขณะนี้ ท่านมีอายุ 72 ปี ปฏิบัติงานทะเบียนมาประมาณ 48 ปีแล้วแต่เรี่ยวแรงของท่านยังมีอยู่มากมายพร้อมที่จะทำงาน เพื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตต่อไปหากจะถามถึงความสำเร็จในชีวิตของท่านนั้น อาจารย์ณัฐชวนันท์ ท่านตอบด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้มว่า “ก็คงเป็นเรื่องของการศึกษาที่ได้พยายามเรียนจนจบการศึกษามาจนถึง ระดับ ปริญญาโท ได้ด้วยตัวเอง นึกถึงบุญคุณของท่านอาจารย์และท่านผู้มีอุปการะที่ได้เคยอุปถัมภ์มาแต่ก่อน ความสุขที่ได้ในชีวิต คือ การทำงาน ทำจนกว่าจะหมดแรงกันไปข้างหนึ่ง”

72 ปี การศึกษา คือ อนาคต (2)

อาจารย์เริ่มงานการสอนครั้งแรกที่ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ซึ่งระหว่างเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียนสตรีวัดระฆัง อยู่นั้น อาจารย์เรียนกวดวิชาที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในตอนเย็นหลังเสร็จงานสอนและตอนกลางคืนยังไปเรียนพิเศษ ภาษาฝรั่งเศส เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย อาจารย์ใช้ชีวิตกับการสอนนักเรียนอยู่ประมาณ 1 ปี ท่านจึงไปสอบเข้าเรียน ระดับปริญญาตรี ซึ่งท่านเลือกไปสมัครสอบ 2 สถานศึกษาด้วยกัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ วิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ผลการสอบนั้นท่านสอบติดทั้ง 2 ที่ ถ้าเป็นความคิดของนักศึกษาในปัจจุบันต้องเลือกเรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน แต่อาจารย์ท่านเลือกเรียนที่ วิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน เพราะที่นี่ให้ทุนการศึกษา ซึ่งท่านเข้าศึกษาใน แผนกมัธยมศึกษา สาขา ประวัติศาสตร์ จนจบหลักสูตรปี พ.ศ.2502 จึงได้กลับมาเริ่มชีวิตแม่พิมพ์ของชาติอีกครั้งในรั้วแดง โรงเรียนการเรียนพระนคร สังกัดกองโรงเรียนฝึกหัดครู กรมการฝึกหัดครู
อาจารย์ณัฐชวนันท์ เริ่มงานการสอนหนังสือไปพร้อม ๆ กับรับทำงานในฝ่ายทะเบียนไปด้วย จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านผูกพันกับงานทะเบียนมาถึงทุกวันนี้ อาจารย์ทำงานประมาณ 2 ปี โรงเรียนการเรือนพระนครได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยครูสวนดุสิต” เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งแต่ก่อนนั้นขั้นของครูเริ่มทำงานจะเริ่มที่ “ครูจัตวา” ก่อน และขั้นต่อ ๆ ไปจะต้องผ่านการพิจารณาจึงจะได้เลื่อนขั้นจนถึง “ครูโท” แล้วการจะได้ขั้น “ครูเอก” ต้องผ่านการสอบ ซึ่งอาจารย์ณัฐชวนันท์สามารถสอบผ่านและสอบได้เป็นที่ 2 ของประเทศ สร้างความภาคภูมิใจให้กับกับท่านและครอบครัวเป็นอย่างมาก

การประชุมรับทราบนโยบาย ข้อบังคับและกระบวนการทำงานในปัจจุบัน

การประชุมรับทราบนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับและกระบวนการทำงานในปัจจุบัน
วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2550 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้อง 201 อาคาร ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน
...............................................................................................................
บันทึกความเข้าในการปฏิบัติงาน
1. การลงทะเบียนเรียนเป็นกรณีพิเศษ
คือ รายวิชาไม่ได้เปิดในภาคเรียนนั้นและนักศึกษาขอลงทะเบียนเป็นจำนวนน้อย เพื่อที่จะสำเร็จการศึกษาให้ดำเนินการดังนี้
1). บันทึกขออนุมัติต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ขอเปิดรายวิชา โดยระบุ รหัสวิชา ชื่อวิชา วันและเวลาเรียน และอาจารย์ผู้สอนที่ถูกต้อง พร้อมเหตุผลการขอเปิดรายวิชา
2). ระบุรหัสและชื่อนักศึกษาที่มีความประสงค์จะลงทะเบียนมาในบันทึก
3). กรณีมีเรื่องเงินค่าสอน โปรดระบุเรื่องเงินค่าสอนแจ้งมาในบันทึก เช่น ขอเบิกค่าสอน 60 % หรือไม่ขอเบิกเงินค่าสอน
2. การขอแก้ไขข้อมูลของรายวิชาในระบบบริหารการศึกษา
เช่น วันและเวลาเรียน ห้องเรียน ตอนเรียน คุณสมบัติผู้ลงทะเบียน ชื่อผู้สอน ให้บันทึกถึงผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วนถูกต้อง บอกจุดประสงค์ที่ชัดเจน เช่น ขอเปลี่ยนวันและเวลาสอนจากวันอังคาร เวลา 9.00-12.00 น. ไปเป็นวันพุธ เวลา 11.00-14.00 น. โดยห้องเรียนและผู้สอนคงเดิม (สามารถดำเนินการได้ถ้าข้อมูลไม่ซ้ำซ้อน)
หากแก้ข้อมูลเป็นจำนวนมากขอได้โปรดทำเป็นตารางเทียบการแก้ไขระหว่างข้อมูลเดิมกับข้อมูลใหม่ให้ชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการดำเนินการ

3. การขอเพิ่มข้อมูลผู้สอนเข้าในระบบ บริหารการศึกษา
เมื่ออาจารย์ตรวจสอบแล้วรายวิชาและตอนเรียนที่อาจารย์ทำการสอนไม่ปรากฏในระบบบริหารการศึกษาของอาจารย์โปรดดำเนินการดังนี้
1. บันทึกข้อความจากศูนย์การศึกษาหรือหลักสูตรและคณะมายัง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยระบุ รหัสอาจารย์ ชื่อสกุลอาจารย์ รหัสวิชา ชื่อวิชาและตอนเรียน ที่ทำการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง หรือ
2. เขียนลงแบบฟอร์มแล้วส่งที่สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมวิชาการละงานทะเบียน
โดย Download แบบฟอร์มได้ที่ http://regis.dusit.ac.th ข้อมูลบริการ หัวข้อ แบบฟอร์มต่าง ๆ แล้วไปใน Teacher From ที่ชื่อว่า แบบฟอร์มแจ้งรายวิชาเรียนที่ขาดในระบบบริหารการศึกษา

4. การจัดตารางเรียน-ตารางสอน
ดำเนินการตามประกาศของมหาวิทยาลัย เรื่อง กิจกรรมวิชาการของผู้ประสานงานวิชาการ โดยสามารถ Download ดูประกาศได้ที่ http://regis.dusit.ac.th/ เว็บไซท์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ข้อมูลบริการ หัวข้อบรรทัดที่ 2 ชื่อ ปฏิทินวิชาการ แล้วเลือกภาคเรียนที่ต้องการ

5. การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา

1) การลงทะเบียนจองรายวิชาของภาคเรียนถัดไป จะดำเนินการก่อนสิ้นภาคเรียนปัจจุบันตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง กิจกรรมวิชาการของนักศึกษา โดยมีกำหนดระยะเวลาไว้แล้ว ดังนั้น ที่สำคัญคือ รายวิชาที่ผู้ประสานงานวิชาการทุกท่านเปิดไว้ในระบบบริหารการศึกษาให้นักศึกษาลงทะเบียนต้องเสร็จตามกำหนดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง กิจกรรมวิชาการของผู้ประสานงานวิชาการ (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)

2) การลงทะเบียนเรียน เพิ่ม- ถอนรายวิชา (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
กรณี นักศึกษาลงทะเบียนเพิ่มรายวิชา ทำได้ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน ซึ่งวันที่เปิดระบบบริหารการศึกษาให้ดำเนินการจะเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย ฯ
นักศึกษาสามารถดำเนินการในระบบบริหารการศึกษาได้เองตามวันที่กำหนด ไม่ว่านักศึกษาจะลงทะเบียนยังไม่ครบหน่วยกิตที่กำหนดหรือไม่เคยลงทะเบียนเลยก็สามารถทำได้ แต่นักศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระของภาคเรียนที่ผ่านมาแล้วและสถานภาพนักศึกษาเป็นปกติ

กรณี ถอนรายวิชา (ไม่ได้รับผลการเรียนเป็น W ) จะทำได้ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย ฯ ซึ่งนักศึกษาต้องยื่นคำร้องที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และสำหรับนักศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษายื่นคำร้องได้ที่สำนักงานศูนย์การศึกษา นักศึกษาที่ดำเนินการในกำหนดจะไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนเรียนล่าช้า เป็นจำนวนเงิน 500 บาท
หมายเหตุ
ขอเน้นย้ำว่า หากพ้นกำหนดแล้วนักศึกษาต้องยื่นเรื่องขอยกเลิกรายวิชาเพื่อรับผลการเรียน “W” ซึ่งทำได้ตั้งแต่พ้นกำหนดการเพิ่ม-ถอนรายวิชาของแต่ละภาคเรียน และไม่เกิน 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการสอบปลายภาค


3) การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
นักศึกษาขออนุญาตลงทะเบียนเรียนข้ามภาคกับนักศึกษาภาคปกติ ภาคสมทบ และภาคปกติ (นอกเวลา) จะทำได้ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน โดยพิจารณาเฉพาะนักศึกษาที่มีความจำเป็นที่ลงทะเบียนยังไม่ครบตามที่กำหนดและเป็นรายวิชาที่ไม่เปิดสอนในภาคปกติ ภาคสมทบและภาคปกติ (นอกเวลา) ของนักศึกษา (โปรดระวังนักศึกษาขออนุญาตลงรายวิชาที่มีข้อกำหนดว่าต้องผ่านรายวิชาใดมาก่อนหรือขอลงทะเบียนข้ามภาคควบกันระหว่างรายวิชาที่มีข้อกำหนดให้เรียนมาก่อนจึงจะลงได้ รวมถึงนักศึกษาไม่มีหนี้ค้างชำระของภาคเรียนที่ผ่านมาแล้ว)

4) การลงทะเบียนเรียน(จำนวนหน่วยกิตเกินจากเกณฑ์ที่กำหนด)
นักศึกษายื่นคำร้องลงทะเบียนเรียน(จำนวนหน่วยกิตเกินจากเกณฑ์ที่กำหนด) ในกรณีที่เป็นภาคเรียนสุดท้ายกำลังจะสำเร็จการศึกษา และลงทะเบียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดได้ที่ศูนย์การศึกษาและสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนโดยนักศึกษาต้องแนบเอกสารมากับคำร้องดังนี้
4.1 ใบรายงานผลการลงทะเบียน (มสด 13.2) ของภาคเรียนนั้น
4.2 ใบรายงานผลการศึกษา (มสด.29) ทุกภาคเรียน
4.3 ถ้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง ต้องแนบวุฒิ ปวส.มาด้วย
ทั้งนี้ นักศึกษาต้องใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้อง และไม่มีหนี้ค้างชำระในภาคเรียนที่ผ่านมาแล้ว

5) การขอลงทะเบียนเรียนล่าช้า (พ้นกำหนดการเพิ่ม-ถอนรายวิชา) (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี2550) นักศึกษาที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนหรือยังลงทะเบียนไม่ครบตามหน่วยกิตที่กำหนด สามารถยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนล่าช้าได้ที่สำนักงานศูนย์การศึกษาและสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน โดยต้องชำระค่าธรรมเนียม กรณีนักศึกษาระดับปริญญาตรีลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด จำนวน 500 บาท ซึ่งนักศึกษาสามารถยื่นขอลงทะเบียนเรียนข้ามภาคล่าช้าได้ด้วยแต่ต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมเหมือนกัน
ทั้งนี้ ประกาศมหาวิทยาลัย ฯ ดังกล่าวไม่ใช้กับการขอถอนรายวิชาที่พ้นกำหนดไปแล้ว ดังนั้นอย่าให้นักศึกษาชำระเงินค่าถอนรายวิชา นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา)

6) การขอลงทะเบียนเรียนย้อนหลัง (ปรากฏผลการเรียน)
นักศึกษายื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ไม่ได้ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ผ่านไปแล้ว โดยอาจารย์ผู้สอนส่งผลการเรียนเข้ามาไว้ที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เมื่อตรวจสอบพบผลการเรียนก็จะดำเนินการลงทะเบียนเรียนให้นักศึกษา แต่นักศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระในภาคเรียนใด ๆ เลย (ภาคเรียนปัจจุบันด้วย) ซึ่งตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2550 เป็นต้นไปนักศึกษาจะต้องชำระค่าธรรมเนียมลงทะเบียนเรียนล่าช้ากว่ากำหนด จำนวน 500 บาทก่อน จึงจะลงทะเบียนให้ และแจ้งนักศึกษาชำระเงินค่าหน่วยกิตและค่าปรับของการชำระเงินล่าช้าด้วย
5. การตัดตอนเรียน
ก่อนเปิดภาคเรียนนั้น ๆ เจ้าหน้าที่วิชาการของศูนย์การศึกษาต้องเข้าไปตัดตอนเรียนในระบบบริหารการศึกษาที่ เมนูตัดตอนเรียน เพื่อเป็นการให้สิทธิ์เรียนแก่นักศึกษา และนักศึกษาที่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ของตอนเรียนนั้นจะได้ทราบว่าตนเองไม่ได้สิทธิ์เรียน เพื่อลงทะเบียนใหม่ ภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคเรียนปกติและภายใน 7 วัน นับจากเปิดภาคเรียนฤดูร้อน

6. การสอบเทียบความรู้
นักศึกษายื่นคำร้องหรือศูนย์การศึกษาบันทึกเสนอรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เพื่อพิจารณามีเอกสารประกอบดังนี้ 1. ใบรายงานผลการศึกษา (มสด.29) ทุกภาคเรียน
2. สำเนาวุฒิการศึกษาปวส. หรือถ้ามีรายวิชาที่ยกเว้นหรือเทียบโอนแนบมาด้วย
โดยการสอบเทียบจะเป็นการสอบเทียบ 100 %

7. การสอบปลายภาคเรียน (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
1. การรับข้อสอบปลายภาคไปเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์การศึกษานั้น ศูนย์ในกรุงเทพ ฯและปริมณฑลจะมารับและส่งคืนวันต่อวัน ส่วนศูนย์ต่างจังหวัดจะมารับก่อนวันสอบไม่เกิน 2 วัน และส่งคืนไม่เกิน 3 วันนับจากวันสุดท้ายที่ศูนย์ ฯ มีการสอบ ซึ่งผู้รับ-ส่งข้อสอบจะมีคำสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ ต้องส่งสรุปรายงานการดำเนินการจัดสอบปลายภาคเมื่อเสร็จสิ้นการสอบตามวันที่คำสั่ง ฯ กำหนด
2. การทุจริตการสอบจะมีแนวปฏิบัติให้ในคู่มือนักศึกษาและระเบียบมหาวิทยาลัย ฯ ว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบและกรรมการกำกับการสอบ สามารถ Download ดูระเบียบได้ที่ http://regis.dusit.ac.th/ เว็บไซท์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ข้อมูลบริการ หัวข้อบรรทัดที่ 1 ชื่อ ประกาศมหาวิทยาลัย ฯ แล้วเลือกที่ระเบียบดังกล่าว
เมื่อเกิดการสงสัยว่าทุจริตในการสอบต้องให้นักศึกษาลงลายมือชื่อรับทราบ หากนักศึกษาไม่ยอมลงลายมือชื่อเพื่อรับทราบให้กรรมการกำกับการสอบรายงานบันทึกพฤติกรรมเพิ่มเติมเพื่อเสนอต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

8. การขออนุญาตสอบเวลาพิเศษและตารางสอบซ้อน (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
การสอบลักษณะนี้เป็นการพิจารณาอนุญาตให้สอบเฉพาะนักศึกษาผู้ที่มีความจำเป็นเท่านั้น และมีเหตุผลเพียงพอ โดยยื่นคำร้องมาเสนอขออนุญาตหรือศูนย์การศึกษาบันทึกข้อความขออนุญาต โดยกำหนดการสอบจะเป็นการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป หากไม่ยื่นคำร้องขออนุญาตและขาดสอบต้องมายื่นคำร้องขอสอบเนื่องจากขาดสอบปลายภาค


9. การจัดสอบกรณีขาดสอบปลายภาค (มีแนวปฏิบัติในคู่มือนักศึกษา ปี 2550)
นักศึกษาต้องยื่นคำร้องในวันที่ตามประกาศของมหาวิทยาลัย ฯ และมาเข้าสอบตามวันและเวลาที่ประกาศ นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบที่ศูนย์ใดต้องไปสอบขาดสอบที่ศูนย์นั้น หากไม่เข้าสอบถือว่าสละสิทธิ์ มหาวิทยาลัย ฯ จะไม่จัดสอบให้กับนักศึกษา และผลการเรียนในส่วนที่ขาดสอบเป็น “ศูนย์” แล้วจะดำเนินการปรับผลการเรียนตามคะแนนเก็บที่มี
ทั้งนี้ นักศึกษาต้องไม่มีหนี้ค้างชำระในภาคเรียนใด ๆ เลย (รวมภาคเรียนปัจจุบัน) จึงจะดำเนินการได้